สวัสดีค่ะ ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บบล็อกวิชาภาษาไทยค่ะ
Hello สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล็อกภาษาไทย คะ

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โครงงานเรื่องคำพังเพย

บทที่๑


บทนำ


ที่มาและความสำคัญ


เนื่องจากทางคณะผู้จัดทำได้แลเห็นว่าปัจจุบันนี้คนเรามักมอง ข้ามสุภาษิตคำพังเพยทั้งนี้ทางคณะผู้จัดทำจึงจัดทำสื่อเพื่อที่จะเผยแพร่สุภาษิตคำพังเพยและแสดงคำนิยมของมนุษย์มาตั้งแต่โบราณกาลมนุษย์ได้นำสำนวนสุภาษิตคำพังเพยนำมาใช้ในการให้ข้อคิดและแนวปฏิบัติรวมทั้งคติเตือนประจำใจในด้านการอบรมสั่งสอนพร้อมทั้งเป็นการพูดให้เกิดความคิดสำนึกที่ดี



วัตถุประสงค์


๑.เพื่ออนุรักษ์สำนวนสุภาษิต คำพังเพย ที่เป็นไทยไว้


๒.เพื่อเผยแพร่สำนวนสุภาษิต คำพังเพย แก่ผู้ที่สนใจ


๓.เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสำนวนสุภาษิต คำพังเพย





ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า


ศึกษาข้อมูลจาก หนังสือ จับกระแสโลก


อินเตอร์เน็ต


หนังสือ สำนวนสุภาษิตคำพังเพย




บทที่๒


เอกสารที่เกี่ยวข้อง






สำนวน คือ ถ้อยคำที่เรียบเรียงขึ้นโดยมีความหมายพิเศษ ไม่ตรงกับ


ความหมายที่ใช้ตามปกติทั้งนี้อาจจะเป็นคำที่มีความหมายโดยนัย หรือ ความหมายในเชิงเปรียบเทียบเป็นลักษณะคำพูดที่รวมใจความยาวๆ ให้กะทัดรัดบางส่วนอาจหมายถึงสุภาษิตและคำพังเพยด้วย





สุภาษิต คือ คำพูดที่ถือเป็นคติ มีความลึกซึ้งใช้สั่งสอนถือเป็นการวางแนวและแสดงค่านิยมของมนุษย์มาแต่โบราณกาล เช่น สุภาษิตสอนหญิง สุภาษิตพระร่วง ก็มีข้อความสั่งสอนที่ค่านิยมของสมัยนั้นๆไว้อย่างชัดเจนตลอดจนพุทธสุภาษิตคำสั่งสอนตามแนวทางพระพุทธศาสนา





คำพังเพย คือ เป็นคำเปรียบเทียบเรื่องต่างๆ ที่ใช้ติชม ซึ่งสะท้อน ถึงความคิด ความเชื่อถือและค่านิยม อันเป็นลักษณะของคนไทย เช่น ค่านิยมในการยกย่องผู้อาวุโส เคารพครูบาอาจารย์และนิยมความสุภาพอ่อนโยน






สำนวน สุภาษิต คำพังเพย


ไม่กระดิกหู หมายถึง ไม่รู้หนังสืออ่านไม่ออกเขียนไม่ได้


กงเกวียน กำเกวียน หมายถึง ทำกับเขาอย่างไร เขาก็ทำแก่ตนอย่างนั้น


กระชังหน้าใหญ่ หมายถึง ใช้จ่ายไม่ยั้งมือ ไม่รู้จักเก็บหอมรอมริบ


กระต่ายตื่นตูม หมายถึง ตื่นตกใจง่ายโดยไม่สำรวจให้ท่องแท้


กระต่ายหมายจันทร์ หมายถึง ชายที่หมายปองหญิงที่มีฐานะสูงกว่า


กระโถนท้องพระโรง หมายถึง ผู้ที่ใคร ๆ ก็ใช้ได้ หรือรุมกันใช้


กลมเป็นลูกมะนาว หมายถึง หลบหลีกได้คล่องจนจับไม่ทัน


กลับหน้ามือเป็นหลังมือ หมายถึง เปลี่ยนแปลงหรือทำให้ผิดไปเป็นตรงกัน


ข้าม


กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้ หมายถึง กว่าจะทำเรื่องหนึ่งสำเร็จ อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญ


กว่าก็ล้มเหลว


กำแพงมีหู ประตูมีช่อง หมายถึง (ตา) จะพูดหรือทำอะไรให้ระมัดระวังแม้จะเป็น


ความลับก็อาจมีคนล่วงรู้ได้


ขนทรายเข้าวัด หมายถึง หาประโยชน์ให้ส่วนรวม


ขนมผสมน้ำยา หมายถึง พอดีกัน จะว่าข้างไหนดีกว่ากันไม่ได้


ข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า หมายถึง บังคับผู้อื่นให้ทำตามที่ตนต้องการ


ขว้างงูไม่พ้นคอ หมายถึง ทำอะไรแล้วผลร้ายกลับสู่ตัว


ข้างนอกสุกใส ข้างในเป็นโพรง หมายถึง สวยแต่รูปจิตใจไม่ดี


ขายผ้าเอาหน้ารอด หมายถึง ยอมเสียสละข้าวของเพื่อรักษาชื่อเสียงของตนไว้


ข้าวแดงแกงร้อน หมายถึง บุญคุณ


ข้าวยากหมากแพง หมายถึง บ้านเมืองอดอยากขาดแคลน


ข้าวเหลือเกลืออิ่ม หมายถึง บ้านเมืองบริบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหาร


ขี่ช้างจับตั๊กแตน หมายถึง ลงทุนมากแต่ได้ผลเพียงเล็กน้อย


คดในข้องอในกระดูก หมายถึง มีสันดานคดโกง


คนดีผีคุ้ม หมายถึง คนดีย่อมไม่มีภัย


คนล้มห้ามข้าม หมายถึง อย่าเหยียบย่ำซ้ำเติมคนที่ตกต่ำ


คบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ หมายถึง ควรระมัดระวังในการคบคน


คว้าน้ำเหลว หมายถึง ไม่ได้ผลตามที่ต้องการ


ความรู้ท่วมเอาตัวไม่รอด หมายถึง มีความมากแต่ไม่รู้จักใช้ความรู้ นั้น


คว่ำบาตร หมายถึง ไม่ยอมคบค้าสมาคมด้วย


คางคกขึ้นวอ หมายถึง คนฐานะต่ำต้อยพอได้ดีมักลืมตัว


คืบก็ทะเล ศอกก็ทะเล หมายถึง อกทะเลอย่าประมาทอาจมีอันตราย


โคแก่ชอบกินหญ้าอ่อน หมายถึง ชายแก่ที่ชอบหญิงรุ่นสาว


ชักน้ำเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน หมายถึง ชักนำศัตรูเข้าบ้าน


ชักใบให้เรือเสีย หมายถึง พูดหรือทำให้งานเขวออกนอกเรื่อง


ชักหน้าไม่ถึงหลัง หมายถึง หากินไม่พอใช้จ่าย


ช้างตายทั้งตัว เอาใบบัวมาปิดไม่มิด หมายถึง ความชั่วที่คนรู้กันทั่วไม่อาจปกปิดได้


ชาติจะดีไม่ทาสีก็แดง หมายถึง คนดีอย่างไรก็ดีเสมอ


ชายข้าวเปลือก หญิงข้าวสาร หมายถึง ผู้ชายอยู่ที่ไหนก็งอกที่นั่น แต่ผู้หญิง


มีแต่จะเสียหาย


ชี้นกเป็นนก ชี้ไม่เป็นไม้ หมายถึง ทำอะไรก็เป็นคล้อยตามไปหมด


ชี้โพลงให้กระรอก หมายถึง ชี้ช่องทางให้ผู้อื่นโดยไม่คิดถึงผลเสีย หาย


เชื้อไม่ทิ้งแถว หมายถึง เป็นไปตามเผ่าพันธุ์


เด็กเลี้ยงแกะ หมายถึง คนชอบพูดโกหก


เด็กอมมือ หมายถึง ผู้ไม่รู้ประสีประสา


เด็ดดอกไม่ไว้ขั้ว หมายถึง ตัดขาด


ได้แกงเทน้าพริก หมายถึง ได้สิ่งใหม่ลืมสิ่งเก่า


ตกน้ำไม่ว่าย หมายถึง ไม่ช่วยตนเอง


ตกถังข้าวสาร หมายถึง ชายที่ได้แต่งงานกับหญิงที่มีฐานะดีกว่า


ชักน้ำเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน หมายถึง ชักนำศัตรูเข้าบ้าน


ชักใบให้เรือเสีย หมายถึง พูดหรือทำงานเขวออกนอกเรื่อง


ชักไม่ถึงหลัง หมายถึง หากินไม่พอใช้


ชาติจะดีไม่ทาสีก็แดง หมายถึง คนดีอย่างไรก็ดีเสมอ


ชิงสุกก่อนห่าม หมายถึง ด่วนทำสิ่งที่ไม่สมควรแก่วัย


ชี้นกเป็นนก ชี้ไม้เป็นไม้ หมายถึง ทำอะไรก็เห็นคล้อยตามไปหมด


ชี้โพรงให้กระรอก หมายถึง ชี้ช่องทางให้คนอื่นโดยไม่คิดถึงความเสียหาย


เชื้อไม่ทิ้งแถว หมายถึง เป็นไปตามเผ่าพันธุ์


ตาบอดได้แว่น หมายถึง ได้สิ่งที่ตนไม่มีโอกาสได้ใช้ประโยชน์


ตามใจปากมากหนี้ หมายถึง เห็นแก่กินมักหมดเปลือก


ตามใจปากลำบากท้อง หมายถึง เห็นแก่กินมักเดือดร้อน













บทที่ ๓


วิธีการดำเนินงาน






ขั้นตอนการดำเนินงาน


๑. ผู้ศึกษานำเสนอหัวข้อโครงงานต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อขอคำแนะนำและกำหนดขอบเขตในการทำโครงงาน


๒. ผู้ศึกษาร่วมกันประชุมวางแผนวิเคราะห์ตามหัวข้อวัตถุประสงค์ของโครงงาน


๓. ผู้ศึกษาร่วมกันกำหนดบทประพันธ์วรรณคดีหนังสือต่างๆ ดังนี้ หนังสือฉบับปรับปรุงใหม่ หนังสือสำนวนสุภาษิต หนังสือคำคมสุภาษิตสอนหญิงชาย


๔. ศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นขั้นตอนของการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโครงงานเพื่อมาวิเคราะห์และสรุปเนื้อหาที่สำคัญที่จะนำมาจัดทำโครงงาน


๕. นำเสนอผลงานต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อรายงานผลการดำเนินงาน


๖. จัดทำคู่มือเพื่อใช้สำหรับศึกษาและรายงานต่ออาจารย์ที่ปรึกษา






อุปกรณ์และวัสดุที่ใช้ในการศึกษา


๑. หนังสือสุภาษิตคำพังเพย


๒. หนังสือจับกระแสโลก


๓. ปากกา ยางลบ ดินสอไม้บรรทัด


๔. อินเตอร์เน็ต


๕. กระดาษ


๖. ยางลบ


๗. ดินสอ


๘. ไม้บรรทัด


๙. กาว


๑๐. ฟิวเจอร์บอร์ด


๑๑. แลคซีน





บทที่ ๔


ผลการศึกษาค้นคว้า






ผลการศึกษาค้นคว้า


สำนวน คือ ถ้อยคำที่เรียบเรียงขึ้นโดยมีความหมายพิเศษ ไม่ตรงกับความหมายที่ใช้ตามปกติทั้งนี้อาจจะเป็นคำที่มีความหมายโดยนัย หรือ ความหมายในเชิงเปรียบเทียบเป็นลักษณะคำพูดที่รวมใจความยาวๆ ให้กะทัดรัดบางส่วนอาจหมายถึงสุภาษิตและคำพังเพยด้วย





สุภาษิต คือ คำพูดที่ถือเป็นคติ มีความลึกซึ้งใช้สั่งสอนถือเป็นการวางแนวและแสดงค่านิยมของมนุษย์มาแต่โบราณกาล เช่น สุภาษิตสอนหญิง สุภาษิตพระร่วง ก็มีข้อความสั่งสอนที่ค่านิยมของสมัยนั้นๆไว้อย่างชัดเจนตลอดจนพุทธสุภาษิตคำสั่งสอนตามแนวทางพระพุทธศาสนา





คำพังเพย คือ เป็นคำเปรียบเทียบเรื่องต่างๆ เนื้อใช้ติชม ซึ้งสะท้อน ถึงความคิด ความเชื่อถือและค่านิยม อันเป็นลักษณะของคนไทย เช่น ค่านิยมในการยกย่องผู้อาวุโส เคารพครูบาอาจารย์และนิยมความสุภาพอ่อนโยน





สำนวน สุภาษิต คำพังเพย


ไม่กระดิกหู หมายถึง ไม่รู้หนังสืออ่านไม่ออกเขียนไม่ได้


กงเกวียน กำเกวียน หมายถึง ทำกับเขาอย่างไร เขาก็ทำแก่ตนอย่างนั้น


กระชังหน้าใหญ่ หมายถึง ใช้จ่ายไม่ยั้งมือ ไม่รู้จักเก็บหอมรอมริบ


กระต่ายตื่นตูม หมายถึง ตื่นตกใจง่ายโดยไม่สำรวจให้ท่องแท้


กระต่ายหมายจันทร์ หมายถึง ชายที่หมายปองหญิงที่มีฐานะสูงกว่า


กระโถนท้องพระโรง หมายถึง ผู้ที่ใคร ๆ ก็ใช้ได้ หรือรุมกันใช้


กลมเป็นลูกมะนาว หมายถึง หลบหลีกได้คล่องจนจับไม่ทัน






กลับหน้ามือเป็นหลังมือ หมายถึง เปลี่ยนแปลงหรือทำให้ผิดไปเป็นตรงกัน


ข้าม


กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้ หมายถึง กว่าจะทำเรื่องหนึ่งสำเร็จ อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญ


กว่าก็ล้มเหลว


กำแพงมีหู ประตูมีช่อง หมายถึง (ตา) จะพูดหรือทำอะไรให้ระมัดระวังแม้จะเป็น


ความลับก็อาจมีคนล่วงรู้ได้





บทที่ ๕


สรุปผลอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ


สรุปผลการศึกษาค้นคว้า


จากการที่คณะผู้จัดทำได้มีความสนใจศึกษาสำนวนสุภาษิตคำพังเพยตามวัตถุประสงค์คือเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ สำนวน สุภาษิต คำพังเพย โดยแบ่งตามลำดับอักษรพยัญชนะไทยเนื้อจากสำนวนสุภาษิตคำพังเพยจากบทประพันธ์ วรรณคดี หนังสือต่างๆ ได้แก่ หนังสือสำนวน สุภาษิต คำพังเพย หนังสือคำคมสุภาษิตสอนหญิงชาย ซึ่งพบว่า สำนวน สุภาษิต คำพังเพย มีจำนวนมากซึ่งถ่ายทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณที่ใช้สั่งสอนอบรมบุตรหลานให้มีคุณธรรมซึ่งในปัจจุบันก็ยังมีการนำ สำนวน สุภาษิต คำพังเพย มาใช้ในชีวิตประจำวันซึ่งเราได้ยินอยู่บ้างในปัจจุบันเพื่อให้ประชาชนประพฤติปฏิบัติมีคุณธรรมและสามารถอยู่รวมกันได้ในสังคมอย่างสงบสุข





อภิปรายผล


จากการศึกษาค้นคว้าโครงงานเรื่อง การศึกสำนวนสุภาษิตคำพังเพย


สำนวนหมายถึง คำที่พูดคือเป็นคติ มีความลึกซึ้ง ใช้สอน คือการวางแนวและแสดงคำนิยมของสมัยโบราณ เช่น คำว่าน้ำพึ่งเรือเสือ เสือพึ่งป่า


สุภาษิตหมายถึง เป็นคำเปรียบเทียบเรื่องต่างๆ เพื่อใช้ติชมสะท้อนถึงความคิดความเชื้อถือ และค่านิยม อันเป็นลักษณะของคนไทย เช่นคำว่าบ้านเคยอยู่ อู่เคยนอน


คำพังเพยหมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงขึ้นโดยมีความหมายพิเศษ ไม่ตรงกับความหมายตามปกติทั้งนี้อาจจะเป็นคำที่มีความหมายโดยนัย หรือความหมายในเชิงเปรียบเทียบ เช่นคำว่า กินบนเรือนขี้รถบนหลังคา


ประโยชน์ที่ได้รับ


๑. เกิดความสามัคคีภายในกลุ่ม


๒. มีความรู้เกี่ยวกับสำนวนสุภาษิตคำพังเพย


๓. มีความเข้าใจเกี่ยวกับการนำสำนวนสุภาษิตคำพังเพยมาใช้


๔. ได้ฝึกทักษะในการวาดภาพประกอบสุภาษิตคำพังเพย









ข้อเสนอแนะ


จากการศึกษาสำนวนสุภาษิตคำพังเพยผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงงานคือ


๑. เนื่องจากเนื้อหาของสำนวนสุภาษิตคำพังเพยอาจมีจำนวนมากในการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาอาจหรือยกเนื้อหาของสำนวนสุภาษิตคำพังเพย


๒. ควรมีการจัดทำเป็นหนังสืออินเล็กทรอนิเผยแพร่ทางเว็บไซต์ในโอกาสต่อไป


๓. นำผลจากการศึกษาสำนวนสุภาษิตคำพังเพยไปสร้างเป็นสื่อในรูปแบบต่างๆ เช่น นิทาน เรื่องสั้น บทละคร เป็นต้น เพื่อให้เหมาะสมกับผู้รับสาร

7 ความคิดเห็น: